
คุณคิดว่าคุณเป็นคนสุขภาพดีหรือไม่คะ? หนึ่งในปัจจัยที่เป็นตัวชี้วัดได้ คือน้ำหนักตัวนั่นเองค่ะ เพราะน้ำหนักตัวที่มากเกินไปเป็นสาเหตุที่เพิ่มความเสี่ยงโรคเรื้อรังหลายโรค รวมถึงโรคเบาหวาน แล้วน้ำหนักตัวของคนสุขภาพดีคืออย่างไร เรามีตัวช่วยชี้วัดอย่างค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index; BMI) ที่ทุกคนสามารถคำนวณเองได้ง่ายๆ โดยการนำน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วย ส่วนสูง(เมตร) ยกกำลังสอง ถ้าค่า BMI มากกว่าหรือเท่ากับ 23 สำหรับคนไทย ถือว่ามีน้ำหนักเกินแล้วค่ะ! เกณฑ์ที่เป็นค่าของคนน้ำหนักปกติ ถือว่าดีคืออยู่ระหว่าง 18.5 – 22.99 คนที่มีภาวะอ้วน มักจะมีการสะสมของไขมันส่วนเกินอยู่ด้วย ส่งผลต่อระบบเผาผลาญน้ำตาลในร่างกาย ทำให้ระบบเผาผลาญแย่ลงเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานมากขึ้น วิธีที่จะช่วยลดน้ำหนัก คงหนีไม่พ้นการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายอย่างที่เราทราบกันดี แต่การดูแลน้ำหนักตัวของเราให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ก็เป็นวิธีที่ทุกคนทำได้อย่างปลอดภัยและยั่งยืน ได้ประโยชน์ที่มากกว่าการลดน้ำหนักอย่างแน่นอนค่ะ
ค่าดัชนีมวลกาย (กก./ตร.เมตร) | ||
WHO | เกณฑ์คนเอเชีย | |
น้ำหนักน้อย | < 18.5 | < 18.5 |
น้ำหนักปกติ | 18.5 – 24.99 | 18.5 – 22.99 |
น้ำหนักเกิน | ≥25 | ≥ 23 |
Pre-obese | 25 – 29.99 | เสี่ยงโรคอ้วน
23 – 24.99 |
อ้วนระดับ 1 | 30 – <34.99 | 25 – 29.99 |
อ้วนระดับ 2 | 35 – <39.99 | ≥ 30 |
อ้วนระดับ 3 | ≥40 | · |
อ้างอิง: : www.Thaihealth.or.thเรื่องภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)